วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยี 4G

เทคโนโลยี 4G ภาพ jeerapat11500.wordpress.com
เทคโนโลยี 4G ภาพ jeerapat11500.wordpress.com
เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที เราคงได้รู้ถึงความพิเศษของ 4G กันแล้ว แต่นี่เป็นเพียงความพิเศษเบื้องต้นเท่านั้น ต่อไปเราจะมาศึกษารายละเอียดความเป็นมาของเทคโนยีที่น่าอัศจรรย์นี้ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร
ประวัติของเทคโนโลยี 4G
พัฒนาการตั้งแต่ยุค1Gมาจนถึงงยุค4G ภาพ http://datacommunicationand.blogspot.com/
พัฒนาการตั้งแต่ยุค1Gมาจนถึงงยุค4G ภาพ http://datacommunicationand.blogspot.com/
“Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ” การสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้ประมาณสองปี และขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ 4G”
4G คือ คำย่อของระบบการสื่อสารไร้สายรุ่นที่ 4 (Fourth-Generation Wireless) เป็นอีกขั้นของการสื่อสารเคลื่อนที่แบบ Broadband ที่จะออกตามหลังระบบ 3G สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่ึการนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G
หลักการทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยี 4G
จากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สายทำให้มีการคาดหมายไว้ว่า ระบบเครือข่ายไร้สายในยุคที่ 4 จะเข้ามาในอีกไม่เกิน 8-10 ปี ซึ่งจะเป็นวิวัฒนาการที่แตกต่างไปจากการพัฒนาในยุค 2.5G และ 3G โดยจะเน้นไปที่การรวมเอาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็น GSM แลนไร้สาย บลูทูธ หรือแม้กระทั่ง RFID ถ้าจะเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีในยุค 3G ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนามาตรฐานใหม่และวิวัฒนาการด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือแล้วนั้นเทคโนโลยีในยุค 4G จะเน้นทางด้านการใช้งานและรูปแบบบริการส่วนบุคคลรวมถึงความเสถียรและคุณภาพในการให้บริการเป็นหลักแต่อย่างไรก็ตามเส้นทางในการก้าวไปสู่ยุค 4G นั้นก็ยังมีความท้าทายที่รออยู่หลายด้านอันจะได้กล่าวถึงต่อไป ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความสำเร็จของระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ที่ได้ขยายตัวไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นเหตุให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับยุค 3G ตามมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยตัวอย่างเทคโนโลยียุค 2G ที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้นได้แก่ GSM, IS-95 และ cdmaOne ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการสื่อสารด้านเสียงและการส่งข้อมูลแบบ low-bit-rate ส่วนระบบในยุค 3G นั้นได้ถูกออกแบบมาให้รองรับบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลและวิดีโอ
เทคโนโลยี 4G
เทคโนโลยี 4G
และในช่วงกลางระหว่างการเปลี่ยนแปลงจากยุค 2G ไปเป็นยุค 3G นั้นก็ได้มีวิวัฒนาการด้านระบบสื่อสารไร้สายมากมายหรือที่เรามักจะเรียกกันว่าเป็นเทคโนโลยีในยุค 2.5G ซึ่งมีความสามารถในการรองรับการสื่อสารและบริการด้านข้อมูลมากขึ้น เช่น GPRS, IMT-2000, บูลทูธ, แลนไร้สาย IEEE 802.11, ไฮเปอร์แลน และ ไวแม็ก (WIMAX) โดยแต่ละเทคโนโลยีนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถเฉพาะเจาะจงกับการใช้งานและการบริการเฉพาะทาง ซึ่งต่างก็มีจุดเด่นที่ไม่สามารถที่จะหาเอาเทคโนโลยีอันหนึ่งอันใดมาแทนการใช้งานของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้
ดังนั้น สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในยุค 4G นั้นแทนที่จะมุ่งพัฒนาในด้านเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุอย่างที่เคยทำมาทั้งกับเทคโนโลยีในยุค 2.5G และ 3G ก็ได้มีแนวคิดใหม่สำหรับระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 4G ซึ่งน่าจะเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีไร้สายต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นระบบเดียวและน่าจะเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดโดยในปัจจุบันนี้ทีมวิจัยของบริษัทชั้นนำอย่าง NTT DoCoMo ก็กำลังดำเนินการวางกรอบของเทคโนโลยียุค 4G ในอนาคตอยู่เช่นกันแต่สุดท้ายแล้วจะออกมาเป็นแบบใดก็คงต้องติดตามกัน ถ้าจะลองนึกภาพของเทคโนโลยียุค 4G นั้นก็น่าจะเป็นระบบเครือข่ายที่เป็น IP-based ทั้งหมดซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลาโดยอาศัยเครื่องโทรศัพท์ที่สามารถใช้งานได้กับทุกเทคโนโลยีและแอพพลิเคชันต่างๆบนโครงข่ายไร้สายทุกประเภทเหมือนๆ กับแนวคิดของโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานได้แบบ Quad-Band ในปัจจุบัน แต่จะมีความสามารถมากกว่าในการรวมเอาหลากหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ เทคโนโลยียุค 4G นั้นควรที่จะเน้นในการให้บริการด้านโทรคมนาคมรวมถึงการสื่อสารข้อมูลและมัลติมีเดียด้วยโดยมีปัจจัยหลักในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต้องการบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบที่มีความเสถียรรวมทั้งการบริการด้านเสียงและแอพพิเคชันแบบ low-bit-rate ที่จะต้องทำงานไปด้วยกันได้อย่างปกติด้วย
สรุปได้ว่าการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายในยุค 4G นั้นต้องมีการศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มใหญ่คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสื่อสารกับระบบไร้สายต่าง ได้ และสำหรับในส่วนที่สองคือ ด้านระบบที่จะต้องมีการส่งต่อการให้บริการ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายตลอดจนสามารถรักษาระดับคุณภาพของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่ว่าจะมีการส่งต่อการให้บริการไปอย่างไร ในส่วนสุดท้ายก็คือ ระบบ Billing System และบริการติดตามผู้ใช้ Personal Mobility ที่จะต้องอาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ในการสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ต่อไปได้
การนำเทคโนโลยี 4G มาประยุกต์ใช้
การนำเทคโนโลยี 4G มาประยุกต์ใช้ ภาพ www.slideshare.net
การนำเทคโนโลยี 4G มาประยุกต์ใช้ ภาพ www.slideshare.net
ประโยชน์ ของ 4G ที่มากกว่า 3G เปรียบเทียบให้เห็นตามตารางข้างล่าง 4G มีการปรับปรุงมากกว่า 3G อย่างมีนัยสำคัญนอกจากเรื่องคลื่นความถี่ ความครอบคลุม และความสามารถ และยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก อาทิเช่น คุณภาพของการบริการ QoS (Quality of Service) รูปแบบการใช้งานระบบเคลื่อนที่ที่มากขึ้น และการสนับสนุนด้านความปลอดภัย
ตารางเปรียบเทียบระหว่าง 3G กับ 4G
ระบบ3Gระบบ4G
การขับเคลื่อน (Driving force)เน้นความสำคัญด้านเสียงเป็นหลัก การรับส่งข้อมูลเป็นอันดับรองทั้งข้อมูลและมัลติมีเดีย ไปด้วยกันบนบริการเครือข่ายของ IP
สถาปัตยกรรมเครือข่าย
(Network architecture)
Wide area networkเป็นการรวมกันระหว่าง เครือข่ายไร้สายกับ Wide area network
Bandwidth (bps)384K – 2M100 M สำหรับการเคลื่อนที่และ1G สำหรับสถานี(อยู่กับที่)
Frequency band (GHz)1.8 – 2.42 – 8
Switchingการส่งข้อมูลใช้แบบ Circuit switched และ packet switchedส่งข้อมูลแบบ packet switched
Access technologyCDMA familyOFDMA family
QoS และความปลอดภัยไม่สนับสนุนสนับสนุน
เทคนิค Multi-antennaสนับสนุนอย่างจำกัดสนับสนุน
การบริการด้านMuticast/broadcast





เทคโนโลยี 4G

เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ  หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที เราคงได้รู้ถึงความพิเศษของ 4G กันแล้ว แต่นี่เป็นเพียงความพิเศษเบื้องต้นเท่านั้น  ต่อไปเราจะมาศึกษารายละเอียดความเป็นมาของเทคโนยีที่น่าอัศจรรย์นี้ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงความสำคัญหลักๆของเทคโนโลยี 4G โดยละเอียดมีดังนี้
    -ประวัติของเทคโนโลยี 4G
    -มาตรฐานของเทคโนโลยี 4G
    -หลักการทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยี 4G
    -การนำเทคโนโลยี 4G มาประยุกต์ใช้

ประวัติของเทคโนโลยี 4G

           "Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ” การสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้ประมาณสองปี และขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ 4G"
4Gคืออะไร?
     4G คือ คำย่อของระบบการสื่อสารไร้สายรุ่นที่ 4 (Fourth-Generation Wireless) เป็นอีกขั้นของการสื่อสารเคลื่อนที่แบบ Broadband ที่จะออกตามหลังระบบ 3G สิ่งที่น่าสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยี 4G ก็เป็นผลมาจากจุดอ่อนของระบบ 3G นั่นเอง โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมทั่วโลกได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึงหนึ่งแสนล้านดอลล่าร์ เพื่อซื้อใบอนุญาตใช้สิทธิในการประกอบการโทรคมนาคมเครือข่าย 3G เพียงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารแบบมัลติมีเดียแบบเคลื่อนที่ได้ แต่ึการนำมาใช้จริงกลับกลายเป็นทำได้ยากกว่าที่คาดไว้ และยังมีการลงทุนทางด้านเครือข่ายและการบำรุงรักษาเครือข่ายที่สูง จึงสร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ประกอบกิจการที่กำลังจะพัฒนาระบบจาก 2.5G สู่ 3G 
 ก่อนอื่นเรามาทราบถึงประวัติของระบบการสื่อสารไร้สายแต่ละรุ่นกันก่อนดีกว่า
     ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้ระบบอะนาล็อก คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว   คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น  ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G แต่จริงๆแล้ว ในยุคนั้นผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆนอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วโดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่ มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่ ยุค 1G จึงเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ วิธีการมอดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่อง  สื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่โทรศัพท์เซลลูลาร์  ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามากในภายหลังจึงมีการเปลี่ยน
    ยุค 2G จะเปลี่ยนจากการส่งคลื่ันวิทยุแบบล็อกมาเป็นการเข้ารหัสDigitalแทน เป็นการส่งคลื่นทางMicrowave ซึ่งในยุคนี้เองที่เราเริ่มใช้งานทางด้านDataได้นอกเหนือจากการใช้เสียงเพีบงอย่างเดียว ยุคนี้เราสามารถรับ-ส่ง ข้อมูลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจนมีการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เข้าใจว่าcall site การติดต่อจากสถานีลูกกับสถานีเบสใช้วิธีการสองแบบ คือ การแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็กๆ  แบ่งกันใช้ทำให้ช่องสัญญาณความถี่เพิ่มขึ้นจากเดิม เกิดระบบGSM(Global System for Mobilization)ซึ่งโทรศัพท์เครื่องเดียวสามารถใช้ได้ทั่วโลก เรียกว่า Roaming

 ยุค2.5G เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G ซึ่ง 2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากกว่ายุค 2G ซึ่งตามหลักการ
   แล้ว เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น  ซึ่งในยุค 2.5G นั้นจะเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้บริการ  ใ
 นส่วนของข้อมูลมากขึ้น และการส่งข้อความก็พัฒนาจาก SMS มาเป็น MMS โทรศัพท์มือถือก็เริ่มเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี เสียงเรียกเข้า จากเดิมที่เป็นเพียง Monotone ก็เปลี่ยนมาเป็น Polyphonic รวมไปถึง
  True tone ต่างๆ ด้วย

ยุค 2.75G ก่อนจะมาถึงยุค 3G เราก็ยังมี 2.75G ด้วยนะ ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution)นั่นเอง EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูก 
  เรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้นแต่ว่า ยุค 2.75G 
ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการนะคะ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น3G
    ยุค3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูลโดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้
   ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call
   Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย
    คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วย 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่า และ
    เรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สายมาสามรถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่อง
    สัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณได้มากกว่าแต่ใช้แบบแถบกว้าง ระบบนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า WCDMA มีแนวโน้มเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เนตได้อย่างสมบูร
  ยุค4G หรือ4G ( Forth Generation ) เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้
   แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่ง
  ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง
  100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
ประโยชน์ ของ 4G ที่มากกว่า 3G เปรียบเทียบให้เห็นตามตารางข้างล่าง 4G มีการปรับปรุงมากกว่า 3G อย่างมีนัยสำคัญนอกจากเรื่องคลื่นความถี่ ความครอบคลุม และความสามารถ และยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก อาทิเช่น คุณภาพของการบริการ QoS (Quality of Service) รูปแบบการใช้งานระบบเคลื่อนที่ที่มากขึ้น และการสนับสนุนด้านความปลอดภัย

เทคโนโลยี 4G (Forth Generation)


เทคโนโลยี 4G 
          เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
 ลักษณะเด่นของ 4G
          4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน  เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G  เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก  คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps  เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย  ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว  หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน  ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G  กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง  เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง  สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ  ดังนั้น  การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า  3G ก่อนคู่แข่ง  น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
          ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย  นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่  เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ 
          อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย  เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง  ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ 
          ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ “4G เฉพาะกิจ” เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง” (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
          แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps

4G มาจากคำเต็มว่า ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ให้บริการสื่อสารไร้สาย ผลิตเครื่องอุปกรณ์ (OEMs) นักลงทุน และผู้คนในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
หมายถึงเทคโนโลยีไร้สายยุคที่ 4 ที่มุ่งเน้นการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (สูงกว่าระบบไร้สายที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ซึ่งรวมทั้งระบบ 3G ด้วย) และให้บริการมัลติมีเดียที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทว่า ณ วันนี้ เทคโนโลยี 4G ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะยอมรับเป็นสากลได้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นองค์กรหนึ่ง ที่พยายามผลักดันอย่างมากในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีโทรคมนาคม ได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี 4G เช่นเดียวกัน และตั้งเป้าหมายการพัฒนาไว้ว่า
          • เทคโนโลยีของระบบ 4G ควรจะเข้ากันได้กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันซึ่งมีระบบการเข้ถึงที่ค่อนข้างหลากหลาย และใช้ได้ดีกับเครือข่ายสื่อสารส่วนบุคคล (PAN)
           • อัตราการรับ-ส่งข้อมูลควรทำได้ 100 Mbps สำหรับการใช้งานลักษณะเคลื่อนที่ และในปี ค.ศ. 2010 ควรทำได้อย่างน้อย 1 Gbps สำหรับการใช้งานทั่วไป
           • เป็นมาตรฐานสากล แบบเปิด ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสเปคตรัมที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในขณะนี้
ในขณะที่มุมมองของ WWRF (Wireless World Research Forum) คาดหมายว่า เครือข่าย 4G ควรจะเป็นเครือข่ายที่สามารถทำงานบนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ร่วมกับเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ เช่น WiFi และ WiMAX โดยมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 100 Mbps (สำหรับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป) จนถึง 1 Gbps (สำหรับเครือข่าย WiFi ท้องถิ่น)
           ที่สำคัญคือ ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งทางด้านหน่วยงาน ที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐาน และนักสังเกตการณ์อุตสาหกรรมว่า WiMAX น่าจะมีโอกาสแปลงกลายเป็นเทคโนโลยี 4G ที่มีความสมบูรณ์มากกว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 4G ที่พยายามพัฒนากันใหม่ขณะนี้

การพัฒนาปสู่มาตรฐาน

          ย้อนกลับไปดูประวัติการพัฒนาของเทคโนโลยี 4G แล้ว จะเห็นว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่มีหนทางการพัฒนาที่ค่อนข้างยาวนาน หลายๆ กลุ่มและหลายๆ องค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลลัพธ์สุดท้ายได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากมาย ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วยองค์กรพัฒนามาตรฐาน (SDO - Standards Development Organizations) , สมาคมอุตสาหกรรม และบรรดาบริษัทต่างๆ (เช่น OEM)  โดย SDO ที่สำคัญๆ หลายองค์กรเป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่ไม่แสวงหากำไร และบางองค์กรมีฐานะเป็นองค์กรของรัฐ เช่น ETSI ในยุโรป CCSA ในจีน และ TTA ในเกาหลี สมาคม 3GPP และ 3GPP2 ก็เป็น SDO ทางอุตสาหกรรมที่พัฒนาและดูแลมาตรฐานของเทคโนโลยี 2G และ 3G อยู่ด้วยในขณะนี้
          ในปีนี้ (ค.ศ.2007) ITU จะพยายามโน้มน้าวในการประชุมต่างๆ ทั่วโลกให้ช่วยกันเร่งพัฒนามาตรฐาน 4G ให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะได้เห็นมาตรฐานของ ITU ได้ก่อนหรือหลัง ค.ศ. 2010 ตามที่ ITU เคยคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้


นิยามมาตรฐาน 4G ยังไม่เห็นชัด

          กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA development group) หรือ CDG ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา กำลังผลักดันความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 1xEV-DO ให้เป็นไปตามที่คาดหวังว่าจะได้จากเทคโนโลยี 4G  

           โดยใน Revision C ของกลุ่ม ได้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีสายอากาศของ CDMA, TDM, OFDM และ MIMO (Multiple Input Multiple Output) หรือแม้แต่ SSDMA (Space Division Multiple Access) เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดให้สูงขึ้นถึง 280 Mbps โดยเรียกมาตรฐานใหม่นี้ว่า Ultra mobile Broadband

          ทางด้านบริษัท โดโคโมะ ของญี่ปุ่น และบริษัท ซัมซุง ของเกาหลี อยู่ในขั้นตอนของการทดสอบต้นแบบระบบสื่อสาร 4G ที่เรียกว่า Variable Spreading Factor Orthogonal Frequency and Code Division Multiplexing หรือ VSF-OFCDM ที่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mb/s ขณะเคลื่อนที่ และ 1 Gb/s ในขณะอยู่กับที่ (ITU เรียกสภาพนี้ว่า “nomadic”) โดยทั้งสองบริษัทวางแผนที่จะนำเครือข่ายดังกล่าวมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกภายใน ค.ศ. 2010
          อีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนา 4G ที่มีการเปิดเผยกันคือ โครงการที่เรียกว่า 3GPP LTE (Long Term Evolution) project ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากการริเริ่มขึ้นในโครงการ Third Generation Partnership (3GPP) Project เพื่อเพิ่มสมรรถนะของมาตรฐาน UMTS 3G
          อย่างไรก็ตาม โครงการ LTE นี้ไม่ใช่มาตรฐาน แต่กำลังจะกำหนดให้เป็น “คล้าย 4G” สำหรับผู้ให้บริการ UMTS ทั้งนี้ในบรรดาเทคโนโลยีดังกล่าว องค์กรที่ทำการวิจัยหลายๆ แห่งกำลังคิดว่า 3G LTE จะเข้ามามีบทบาทมากที่สุด จนบางครั้งมีการเรียกเทคโนโลยี 3G LTE นี้ว่า 3.99G หรือไปไกลกว่านั้นเรียกว่า “Super 3G” เลยก็มีคอขวดอยู่ที่สเปคตรัมใช้งาน
          แนวทางการพัฒนาไปสู่ 4G โดยยังคงมุ่งเน้นที่บริการที่มีการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง และสามารถประยุกต์ด้านมัลติมีเดียได้กว้างขวางขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้สเปคตรัมความถี่วิทยุเพิ่มขึ้นด้วย ในเรื่องนี้คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FCC) ได้อนุมัติการใช้คลื่นความถี่ 700 MHZ สำหรับการใช้งาน 4G ในสหรัฐแล้วโดยผ่านทางการประมูล
          อย่างไรก็ดีการใช้แถบความถี่ดังกล่าวนี้ สำหรับบริการไร้สายเคลื่อนที่ คงจะต้องรออีกเป็นปี เนื่องจากยังมีความยุ่งยาก ในการย้ายการใช้งานของกิจการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ที่ได้ให้ใบอนุญาตไปแล้วให้เรียบร้อยก่อน
          นอกจากนี้ ยังไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักหากจะทำให้สามารถ ใช้สเปคตรัม 4G เช่นเดียวกันได้ทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดแล้วว่าเป็นไปได้ยากในกรณีของเครือข่าย 2G และ 3G

ภาพรวมทางธุรกิจของ 4G
          เทคโนโลยี 4G คงจะยังไม่เข้ามามีบทบาทในตลาดไร้สายในระยะเวลา 4 - 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งเมื่อต้นปีนี้ (พ.ศ. 2550) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ ก็ยังคงเลือกใช้เทคโนโลยีที่จะต้องลงทุนไปอีกอย่างน้อย 15 ปี คือ เทคโนโลยี GSM เดิม หรือเทคโนโลยี 3G ใหม่ๆ เช่น CDMA2000 1xEV-DO, WCDMA และ HSDPA ซึ่งให้ network capacity มากกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต่ำกว่าเช่นเดียวกับการสื่อสารข้อมูลบรอดแบนด์ อีกด้วย
          เห็นทีว่าเราคงต้องรอไปจนกว่า ITU และบรรดากลุ่มที่จัดทำมาตรฐานแห่งชาติ (เช่น กลุ่ม 3GPP) และสมาคม 3GPP2 จะพัฒนามาตรฐาน 4G ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ


ทำไมจึงอยากได้ 4G
          เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
        1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเล  คอนเฟอเรนซ์  เป็นต้น
        2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า  สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
        3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
        4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
        5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
          หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้



4G ในประเทศไทย 


โดยทางสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union-หรือ ITU) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ว่าเทคโนโลยี LTE (Time Division Long Term Evolution) และ Wimax เป็นมาตรฐานสากลของ 4 จี สำหรับบ้านเราแล้วมีการทดลอง ใช้งานทั้งสองแบบครับโดย WiMAX ได้ความร่วมมือจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือที่เรารู้จักก็คือ เนคเทค ได้มีการทดสอบแถวจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ การทดลองใช้งาน LTE เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ความร่วมมือจาก TOT และ CAT ในการใช้คลื่นมาทดลองให้บริการ ด้วยทั้งสองระบบมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน และความเหมาะสมของ LTE มีมากกว่า ทางบ้านเราจึงเลือกที่จะใช้ระบบ LTE เป็นมาตรฐานของ 4G ในประเทศไทยครับ
สำหรับคลื่นที่ให้บริการ 4G LTE ได้ก็มีดังนี้ครับ 700 MHz, 800 MHz, 1800 MHz, 2300Mhz และ 2600 MHz แน่นอนสำหรับบ้านเราไม่สามารถให้บริการได้ทั้ง 5 คลื่นครับ ด้วยเหตุผลคือ 700 MHz ติดให้การให้บริการฟรีทีวีในระบบอนาล็อค ถ้าจะใช้คลื่นนี้ต้องล่มฟรีทีวี หรือทำทีวีระบบดิจิตอลครับ 800 MHz ติดให้บริการ 2G และ 3G อยู่ 1800 MHz ติดให้สัมปทานกับ dtac , Truemove และ DPC ครับ 2300Mhz ส่วนใหญ่ถือครองโดย TOT และ 2600 MHz ถือครองโดย อสมท. จะเห็นว่าไม่มีความถี่มากพอที่ กสทช. จะนำคลื่นมาประมูลใหม่เพื่อมาให้บริการ 4G ได้เลยครับสำหรับรูปแบบการให้บริการ LTE เลยจะเป็นลักษณะคล้ายในภาพคือเน้นให้บริการเฉพาะพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งาน data มาก  ตามเมืองใหญ่ๆ ที่มีประชากรหนาแน่น ควบคู่กับ 3G เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานดาต้าในบริเวณที่มีการใช้งานดาต้าให้มีมากขึ้นด้วยความเร็วที่สูงสุด 100Mbps ครับ หรือจะมองง่ายๆคือจะมีลักษณะคล้ายๆกับ Wifi hotspot ที่ค่ายมือถือติดตามห้างต่างๆเพื่อเป็นการลดภาระการโหลด data ผ่านระบบ 3G นั่นเองครับ
การทดสอบ 4G LTE บนคลื่น 1800Mhz และ 2300Mhz 
หลังจาก AIS ได้มีการทดสอบการใช้งาน LTE บนความถี่ย่าน 1800Mhz และ 2300Mhz โดยมีรายละเอียดคือ ย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 2×10 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution (LTE) ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex (FDD) สเปคคือ Download 75 Mbps / Upload 25 Mbps ทดสอบในจังหวัดมหาสารคาม บริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคามและราชภัฏมหาสารคาม และในย่านความถี่ 2300 MHz ของบริษัททีโอที ขนาด 20 MHz ด้วยเทคโนโลยี LTE ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex (TDD) สเปคคือ  Download 100 Mbps / Upload 8 Mbps ทดสอบในกรุงเทพฯ บริเวณ ถ.พระราม1 ไล่ตั้งแต่เซ็นทรัล เวิร์ล, สยาม สแควร์, สยาม พารากอนไปจนถึง มาบุญครอง และบริเวณ ถ.แจ้งวัฒนะตั้งแต่หัวถนนตรงหลักสี่ห้างไอที สแควร์ ไปจนถึง ซอยแจ้งวัฒนะ 14 โดยผลการทดสอบในวันที่แถลงข่าวก็เป็นที่น่าพอใจครับ ได้ความเร็วออกมาสูงอยู่ที่  87.6 Mbps เลยทีเดียว
และล่าสุดก็มีข่าวดี เมื่อทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  หรือ กสทช. ได้อนุมัติให้ทาง dtac และ Truemove H เดินหน้าทดสอบเทคโนโลยี 4G LTE บนความถี่ 1800Mhz เช่นเดียวกัน หลังจากที่ AIS ได้ทดสอบไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดย dtac จะทดสอบ 4G LTE ในเขตกรุงเทพเป็นหลักในขณะที่ Truemove H จะทดสอบ 4G LTE บริเวณอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครนายก โดยการทดสอบดจะมีระยะเวลาไม่เกิน 180 วันและสามารถต่อสัญญาเพิ่มได้อีก 1 ครั้งไม่เกิน 90 วันด้วยครับผม ซึ่งคาดว่าจะมีการทดสอบในช่วงไตรมาส 3 ปี 2555 หรือช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมที่จะถึงนี้ครับ
สำหรับประเทศไทย
สำหรับความเป็นไปได้ตอนนี้คือ 1800MHz ที่ให้สัมปทานกับ dtac , Truemove และ DPC ไป โดย Truemove และ DPC จะหมดสัมปทานในเดือน กันยายน 2556 นั่นเอง พอหมดสัมปทานความถี่นี้ก็จะต้องส่งคืน กสทช. เพื่อนำไปประมูลใหม่ครับ แต่ไม่ได้ง่ายแค่นี้ ขออธิบายด้วยภาพนะครับ
จากภาพเป็นการแสดงคลื่น 1800Mhz ในปัจจุบันนะครับ จะเห็นว่า Truemove และ DPC ถือครองอยู่ส่วนละ 12.5Mhz ซึ่งไม่เพียงพอจะนำไปให้บริการ 4G ได้โดยมี dtac ถือคั่นกลางอยู่ ส่วนละ 25Mhz (รวม 50Mhz) ซึ่งการให้บริการ 4G LTE ที่ดีนั่นควรมีคลื่นความถี่ 15Mhz ขึ้นไปเพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุด ตรงนี้ทำให้ติดปัญหา โดย กสทช. ได้แก้ปัญหาโดยการเจรจากับ dtac ให้คืนคลื่นส่วนที่เหลือ ตรงกลาง 25Mhz คืนให้กับ กสทช. เพื่อให้ทำมีคลื่นรวมกันมากพอที่จะนำไปประมูล 4G LTE ซึ่งตรงนี้ก็น่ายินดีที่ dtac ยินดีที่จะคืนคลื่นเพื่อให้เกิดการประมูล 4G โดยเร็วที่สุดครับ ซึ่งตรงนี้ได้รวมก็จะได้เป็น 2x50Mhz พอสำหรับ 3 รายรายละ 2x15Mhz หรือ 2 รายรายละ 2x20Mhz ครับ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่า กสทช. จะกำหนดรูปแบบการประมูลเป็นแบบไหนครับ
คลื่นต่อไปที่จะพอมีหวังสำหรับประเทศไทยคือ 2300Mhz ที่ถือครองโดยทีโอที จำนวน 64Mhz ที่มีใบอนุญาตทำไมโครเวฟสำหรับการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีการใช้งานน้อยมากและไม่เกิดประโยชน์ จากการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง กสทช. และ ทีโอที เบื้องต้นโดยทีโอทีเสนอคืนคลื่นจำนวน 30Mhz ให้กับ กสทช. โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือทีโอทีขอใช้คลื่นที่เหลืออีก 34Mhz เปิดให้บริการ 4G ได้ ตรงนี้ยังไม่มีท่าทีออกมาจาก กสทช. ครับ ต้องรอดูว่าผลการเจรจาจะออกมาในรูปแบบไหน รอติดตามต่อไปครับ
และควางหวังสุดท้ายสำหรับประเทศไทยคือความถี่ช่วง 2500-2600Mhz ที่ส่วนใหญ่ถือครองโดย อสมท. อยู่ ซึ่งความถี่ย่านนี้ อสมท. พยายามที่จะเปิดบริการ LTE ในชื่อบริการ Vingworld เพื่อเป็นการรักษาคลื่นไว้ ถ้าหากไม่มีการใช้ประโยชน์ ปล่อยคลื่นความถี่ว่างไว้ กสทช. ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกคืนได้ คลื่นส่วนนี้ยังไม่มีความชัดเจน ในการนำมาเปิดประมูลบริการ 4G ใหม่ ต้องรอดูว่า กสทช. จะเจรจากับ อสมท. ออกมาได้ข้อสรุปอย่างไร
สรุปเลยตอนนี้คลื่นที่เหมาะสมกับไทยในการทำ LTE 4G มากที่สุดคือ 1800Mhz 2300Mhz และ 2600Mhz ตรงนี้ความหวังมากสุดจะเห็นเป็น 1800Mhz ที่จะหมดสัมปทานและนำมาประมูลใหม่ได้ในช่วงปีหน้า ทำให้เราพอจะเห็นความหวังอยู่บ้างสำหรับ 4G ที่จะเกิดขึ้นไทยประเทศไทยอย่างเร็วที่สุดก็ภายใน 1-2 ปีนี้ละครับ

ไม่สนับสนุน




สนับสนุน





วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
บทที่ 4 ระบบประมวลผล
บทที่ 5 เครื่องจักรกลNC
บทที่ 6 หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
บทที่ 7 ระบบถ่ายวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 9 PLC/PC
บทที่ 10 คอมพิวเตอร์กับงานผลิต

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ผมชื่อ นาย อลังการ นามสกุล แท่งทอง
ชื่อเล่น จ๋า
จบมาจาก วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราฏร์นิกร
สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
บ้านอยู่ สงขลา (บ้านเลขที่124 ม.1 ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110)
มาศึกษาต่อ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โปรแกรมวิชา อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
สาขา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
รหัส 044
คติประจำใจ เจอปัญหาอย่าท้อแท้ หนทางแก้มีเสมอ
เบอร์โทรศัพท์ 080-8658910
facebook AlangKan ThangThong
Line jahzanovalove


เพิ่มหรือเปลี่ยนชื่ออื่นๆ

                                                     ....... ยินดีตอนรับเข้าสู่ Blogger อลังการ.........

ระบบข่นย้ายวัสดุอัตโนมัต

สายพานลำเลียง              สายพานลำเลียงเป็นสายพานที่ใช้ขนส่งวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยจะต้องมีตัวขับและพูเลย์ในการทำงานใ...